การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก สำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก การเชื่อมเหล็กเป็นวิธีการต่อโครงสร้างเหล็กที่บ้านเรานิยมมากที่สุด เหตุผลง่ายๆ เพราะบ้านเรายังเน้นการตัดต่อประกอบที่หน้างาน งานตัดและเชื่อมอาคารโครงสร้างเหล็กจะเหมือนกับงานตัดและต่ออาคารโครงสร้างไม้ประเภทของงานเชื่อมสำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก ถ้าแบ่งประเภทงานเชื่อม ตามรอยเชื่อม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. เชื่อมพอก หรือ fillet weld เป็นลักษณะที่เชื่อมขอบผิวชิ้นงานหนึ่งๆ เข้ากับผิวของ base material ที่ต้องการจะต่อเข้าไป ข้อดีคือสามารถเชื่อมได้ง่ายโดยไม่ต้องเตรียมขอบชิ้นงาน สะดวก ไม่ต้องควบคุมคุณภาพมาก เพราะแนวโน้มการเกิดความไม่สมบูรณ์ของรอยเชื่อมค่อนข้างน้อย 2. เชื่อมบากร่อง หรือ groove weld ส่วนใหญ่แล้ว (แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) เป็นลักษณะการ “เชื่อมขอบชิ้นงานเข้ากับขอบ base material” เอาขอบกับขอบมาต่อเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ จะเป็น groove weld แน่นอน 100% ข้อดีของ groove weld คือ ให้กำลังที่สูง โดยหากเป็นการเชื่อมที่ซึมลึกเต็มความหนา ที่เรียกว่า…
เสาเหล็ก HSS ดีอย่างไร และวิธีการคำนวณกำลังรับน้ำหนัก ลองคิดกันเล่นๆ ก่อนที่จะเข้าเนื้อหานะครับว่าหากนำ ” เสาเหล็ก มาใช้กับอาคารที่ใช้ระบบพื้นอัดแรง (post-tensioned slab) จะดีกว่ามั้ย และมีข้อดียังไงบ้าง หากให้เสาเหล็กรับแต่น้ำหนักที่เป็น axial compression ส่วนแรงทางด้านข้างให้ member เช่น lateral bracing หรือ lift core รับไปแทนจะดีไหม การคำนวณกำลังรับน้ำหนักและข้อดีของ เสาเหล็ก การออกแบบส่วนใหญ่เวลาเราอ้างอิง code สำหรับการออกแบบโครงสร้างเหล็ก (กำลังรับน้ำหนักต่างๆ) เราก็จะอ้างอิง AISC360 ซึ่งเป็น code ของทางประเทศอเมริกาที่น่าเชื่อถือ และ code ก็มีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆ ครับ ซึ่งหากเปิด code ไป ก็จะเห็นว่า การคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาที่เป็น axial compression ก็จะอยู่ที่ chapter E โดยที่ใน chapter นี้ ก็จะมีหัวข้อย่อยเป็น E1,…
Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? ประวัติความเป็นมาของ PEB Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? สำหรับความเป็นมาของ Pre-engineered building เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1960 ซึ่งอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า pre-engineered เพราะว่ามันถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาดมิติ รูปร่าง และรูปทรงของตัวอาคารไว้ก่อนล่วงหน้า โดยรูปแบบของโครงสร้างหลัก (Primary structure) จะเป็นโครงข้อแข็ง (Steel portal frame or Rigid frame) ซึ่งมีเสถียรภาพในการต้านทานทั้งแรงในแนวดิ่งจากน้ำหนักตัวของโครงสร้างเอง และแรงให้แนวราบ จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของโครงสร้าง ที่ต้องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะห่างระหว่างช่วงเสา การใช้งานที่ยืดหยุ่นจากจำนวนเสาภายในอาคารที่ลดน้อยลง และความสวยงามของตัวอาคารที่ดูโปร่งโล่งทันสมัยส่วนโครงสร้างรอง (secondary structure) ประกอบไปด้วยแป (purlin) และโครงเคร่ารับผนัง (girt) ส่วนของแปจะวางพาดในแนวตั้งฉากกับคานรับหลังคา (rafter) ด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กันเพื่อใช้ในการรองรับระบบหลังคา ส่วนโครงเคร่ารับผนังจะวิ่งพาดตั้งฉากกับเสา (column) จากช่วงห่างของโครงสร้างหลักหนึ่งไปอีกโครงสร้างหลักหนึ่ง เพื่อรองรับแผ่นผนัง…