การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก สำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก การเชื่อมเหล็กเป็นวิธีการต่อโครงสร้างเหล็กที่บ้านเรานิยมมากที่สุด เหตุผลง่ายๆ เพราะบ้านเรายังเน้นการตัดต่อประกอบที่หน้างาน งานตัดและเชื่อมอาคารโครงสร้างเหล็กจะเหมือนกับงานตัดและต่ออาคารโครงสร้างไม้ประเภทของงานเชื่อมสำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก ถ้าแบ่งประเภทงานเชื่อม ตามรอยเชื่อม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. เชื่อมพอก หรือ fillet weld เป็นลักษณะที่เชื่อมขอบผิวชิ้นงานหนึ่งๆ เข้ากับผิวของ base material ที่ต้องการจะต่อเข้าไป ข้อดีคือสามารถเชื่อมได้ง่ายโดยไม่ต้องเตรียมขอบชิ้นงาน สะดวก ไม่ต้องควบคุมคุณภาพมาก เพราะแนวโน้มการเกิดความไม่สมบูรณ์ของรอยเชื่อมค่อนข้างน้อย 2. เชื่อมบากร่อง หรือ groove weld ส่วนใหญ่แล้ว (แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) เป็นลักษณะการ “เชื่อมขอบชิ้นงานเข้ากับขอบ base material” เอาขอบกับขอบมาต่อเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ จะเป็น groove weld แน่นอน 100% ข้อดีของ groove weld คือ ให้กำลังที่สูง โดยหากเป็นการเชื่อมที่ซึมลึกเต็มความหนา ที่เรียกว่า…
เสาเหล็ก HSS ดีอย่างไร และวิธีการคำนวณกำลังรับน้ำหนัก ลองคิดกันเล่นๆ ก่อนที่จะเข้าเนื้อหานะครับว่าหากนำ ” เสาเหล็ก มาใช้กับอาคารที่ใช้ระบบพื้นอัดแรง (post-tensioned slab) จะดีกว่ามั้ย และมีข้อดียังไงบ้าง หากให้เสาเหล็กรับแต่น้ำหนักที่เป็น axial compression ส่วนแรงทางด้านข้างให้ member เช่น lateral bracing หรือ lift core รับไปแทนจะดีไหม การคำนวณกำลังรับน้ำหนักและข้อดีของ เสาเหล็ก การออกแบบส่วนใหญ่เวลาเราอ้างอิง code สำหรับการออกแบบโครงสร้างเหล็ก (กำลังรับน้ำหนักต่างๆ) เราก็จะอ้างอิง AISC360 ซึ่งเป็น code ของทางประเทศอเมริกาที่น่าเชื่อถือ และ code ก็มีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆ ครับ ซึ่งหากเปิด code ไป ก็จะเห็นว่า การคำนวณกำลังรับน้ำหนักของเสาที่เป็น axial compression ก็จะอยู่ที่ chapter E โดยที่ใน chapter นี้ ก็จะมีหัวข้อย่อยเป็น E1,…
การก่อสร้างด้วย โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป (Modular Steel Construction) การก่อสร้างแบบ modular นี้ ก็จะเป็นการก่อสร้าง ที่ถูกคิดค้นเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากงานก่อสร้าง ที่ได้กล่าวไปข้างต้นโดยลักษณะการก่อสร้างแบบ modular นี้จะมีลักษณะของการ ใช้ส่วนประกอบของอาคาร ที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน หรือผลิตซ้ำกันได้มากๆ ยกตัวอย่าง เช่น ออกแบบบ้านเดี่ยว ให้มีความยาวช่วง (span) ที่เหมาะสมสำหรับการใช้คานและเสา ที่มีขนาดหน้าตัดเดียว คือ คาน 1 หน้าตัด และเสา 1 หน้าตัด อีกทั้ง ความยาวของ member ก็จะเป็นความยาวที่เป็นมาตรฐาน และมีระยะที่พอดีกับวัสดุสำหรับงาน finishing เช่น กระเบื้องพื้นหรือผนังเพื่อให้การผลิตหรือการติดตั้ง ไม่ต้องทำการตัดส่วนที่ไม่ต้อการออก (ไม่เหลือเศษ)จากนั้นก็จะมีการแปรรูปและประกอบติดตั้งเบื้องต้นในโรงงานก่อน จากนั้นก็ขนส่งไปที่หน้างานและทำการประกอบติดตั้งขั้นสุดท้ายให้เป็นอาคาร ประเภทของการก่อสร้างระบบ modular construction หากพูดถึง modular หลายๆ ท่านอาจจะมีภาพในหัวว่า มันจะต้องผลิตมาเป็นกล่องๆ ในโรงงาน แล้วยกกล่อง ขนส่งใส่รถไปติดตั้งที่หน้างาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็ถือว่าถูกส่วนหนึ่ง แต่การก่อสร้างด้วยระบบ…
SSI Steel Design แอพพลิเคชั่นออกแบบโครงสร้างเหล็ก ง่ายนิดเดียว! SSI Steel Design คืออะไร?SSI Steel Design เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการคำนวณกำลังรับน้ำหนักสำหรับโครงสร้างเหล็ก ซึ่งจะช่วยให้การคำนวณนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกลับไปเปิดคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานหรือบ้านอีกต่อไป โดย SSI Steel Design ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (Hot-Rolled Coil) ครบวงจร SSI Steel Design ทำอะไรได้บ้าง?สำหรับการคำนวณหลักๆ สามารถทำได้ 3 รูปแบบคือ– สามารถคำนวณกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานโครงสร้างเหล็กหน้าตัดประกอบรูปตัว เอช (flexural strength of built-up H-section) สมมาตร 1 แกน และ 2 แกน.– สามารถคำนวณกำลังรับแรงอัดของเสาโครงสร้างเหล็ก (compressive strength of steel column) หน้าตัดต่างๆ เช่น หน้าตัดประกอบรูปตัวเอช…
PostConnexTM นวัตกรรมจุดต่อสำหรับพื้นคอนกรีตอัดแรงกับเสาเหล็ก PostConnexTM คืออะไร? PostConnex เป็นระบบข้อต่อ / จุดต่อ (connection) ระหว่างเสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง (Hollow Steel Section, HSS) และ พื้นคอนกรีตอัดแรง (post-tensioned slab) หรือจะเรียกง่ายๆก็น่าจะใช้คำว่า “นวัตกรรมจุดต่อสำหรับพื้นคอนกรีตอัดแรงกับเสาเหล็ก”ซึ่งบริเวณหัวเสา (จุดต่อตัวผู้)ได้มีการออกแบบจุดต่อเพื่อรองรับพื้นคอนกรีตอัดแรง พร้อมทั้งยังเป็นตัวนำร่องสำหรับการต่อเสาโครงสร้างสำหรับชั้นต่อไปด้วย โดยจะทำให้สามารถก่อนสร้างได้รวดเร็วส่วนบริเวณโคนเสา (จุดต่อตัวเมีย) ก็จะมีการทำจุดต่อไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งจุดต่อชุดนี้เราจะเรียกว่า อุปกรณ์ยึดโคนเสา ที่จะมีหน้าที่ในการประคองเสาในระหว่างขั้นตอนของการประกอบติดตั้ง และยังสามารถใช้ในการปรับระดับ และความตรงดิ่งของเสาได้อีกด้วย องค์ประกอบของ PostConnexTM องค์ประกอบหลักของ PostConnex จะมีด้วยกันอยู่ 5 อย่างด้วยกัน ดังนี้ 1. เสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง หรือ เสาเหล็ก HSS (Hollow Steel Section, HSS) – ด้านในมีการติดตั้งแผ่นไดอะแฟรม (diaphragm) 2. จุดต่อตัวผู้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย – แผ่นเหล็กปิดหัวเสา –…