การก่อสร้างแบบ Modular

การก่อสร้างแบบ Modular

การก่อสร้างด้วย โครงสร้างเหล็กสำเร็จรูป (Modular Steel Construction) การก่อสร้างแบบ modular นี้ ก็จะเป็นการก่อสร้าง ที่ถูกคิดค้นเพื่อการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากงานก่อสร้าง ที่ได้กล่าวไปข้างต้นโดยลักษณะการก่อสร้างแบบ modular นี้จะมีลักษณะของการ ใช้ส่วนประกอบของอาคาร ที่มีลักษณะเหมือนๆ กัน หรือผลิตซ้ำกันได้มากๆ ยกตัวอย่าง เช่น ออกแบบบ้านเดี่ยว ให้มีความยาวช่วง (span) ที่เหมาะสมสำหรับการใช้คานและเสา ที่มีขนาดหน้าตัดเดียว คือ คาน 1 หน้าตัด และเสา 1 หน้าตัด อีกทั้ง ความยาวของ member ก็จะเป็นความยาวที่เป็นมาตรฐาน และมีระยะที่พอดีกับวัสดุสำหรับงาน finishing เช่น กระเบื้องพื้นหรือผนังเพื่อให้การผลิตหรือการติดตั้ง ไม่ต้องทำการตัดส่วนที่ไม่ต้อการออก (ไม่เหลือเศษ)จากนั้นก็จะมีการแปรรูปและประกอบติดตั้งเบื้องต้นในโรงงานก่อน จากนั้นก็ขนส่งไปที่หน้างานและทำการประกอบติดตั้งขั้นสุดท้ายให้เป็นอาคาร ประเภทของการก่อสร้างระบบ modular construction หากพูดถึง modular หลายๆ ท่านอาจจะมีภาพในหัวว่า มันจะต้องผลิตมาเป็นกล่องๆ ในโรงงาน แล้วยกกล่อง ขนส่งใส่รถไปติดตั้งที่หน้างาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ก็ถือว่าถูกส่วนหนึ่ง แต่การก่อสร้างด้วยระบบ…

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? ประวัติความเป็นมาของ PEB Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? สำหรับความเป็นมาของ Pre-engineered building เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1960 ซึ่งอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า pre-engineered เพราะว่ามันถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาดมิติ รูปร่าง และรูปทรงของตัวอาคารไว้ก่อนล่วงหน้า โดยรูปแบบของโครงสร้างหลัก (Primary structure) จะเป็นโครงข้อแข็ง (Steel portal frame or Rigid frame) ซึ่งมีเสถียรภาพในการต้านทานทั้งแรงในแนวดิ่งจากน้ำหนักตัวของโครงสร้างเอง และแรงให้แนวราบ จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของโครงสร้าง ที่ต้องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะห่างระหว่างช่วงเสา การใช้งานที่ยืดหยุ่นจากจำนวนเสาภายในอาคารที่ลดน้อยลง และความสวยงามของตัวอาคารที่ดูโปร่งโล่งทันสมัยส่วนโครงสร้างรอง (secondary structure) ประกอบไปด้วยแป (purlin) และโครงเคร่ารับผนัง (girt) ส่วนของแปจะวางพาดในแนวตั้งฉากกับคานรับหลังคา (rafter) ด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กันเพื่อใช้ในการรองรับระบบหลังคา ส่วนโครงเคร่ารับผนังจะวิ่งพาดตั้งฉากกับเสา (column) จากช่วงห่างของโครงสร้างหลักหนึ่งไปอีกโครงสร้างหลักหนึ่ง เพื่อรองรับแผ่นผนัง…