การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก

การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก

การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก สำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก การเชื่อมเหล็กเป็นวิธีการต่อโครงสร้างเหล็กที่บ้านเรานิยมมากที่สุด เหตุผลง่ายๆ เพราะบ้านเรายังเน้นการตัดต่อประกอบที่หน้างาน งานตัดและเชื่อมอาคารโครงสร้างเหล็กจะเหมือนกับงานตัดและต่ออาคารโครงสร้างไม้ประเภทของงานเชื่อมสำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก ถ้าแบ่งประเภทงานเชื่อม ตามรอยเชื่อม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. เชื่อมพอก หรือ fillet weld เป็นลักษณะที่เชื่อมขอบผิวชิ้นงานหนึ่งๆ เข้ากับผิวของ base material ที่ต้องการจะต่อเข้าไป ข้อดีคือสามารถเชื่อมได้ง่ายโดยไม่ต้องเตรียมขอบชิ้นงาน สะดวก ไม่ต้องควบคุมคุณภาพมาก เพราะแนวโน้มการเกิดความไม่สมบูรณ์ของรอยเชื่อมค่อนข้างน้อย 2. เชื่อมบากร่อง หรือ groove weld ส่วนใหญ่แล้ว (แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) เป็นลักษณะการ “เชื่อมขอบชิ้นงานเข้ากับขอบ base material” เอาขอบกับขอบมาต่อเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ จะเป็น groove weld แน่นอน 100% ข้อดีของ groove weld คือ ให้กำลังที่สูง โดยหากเป็นการเชื่อมที่ซึมลึกเต็มความหนา ที่เรียกว่า…

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? ประวัติความเป็นมาของ PEB Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? สำหรับความเป็นมาของ Pre-engineered building เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1960 ซึ่งอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า pre-engineered เพราะว่ามันถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาดมิติ รูปร่าง และรูปทรงของตัวอาคารไว้ก่อนล่วงหน้า โดยรูปแบบของโครงสร้างหลัก (Primary structure) จะเป็นโครงข้อแข็ง (Steel portal frame or Rigid frame) ซึ่งมีเสถียรภาพในการต้านทานทั้งแรงในแนวดิ่งจากน้ำหนักตัวของโครงสร้างเอง และแรงให้แนวราบ จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของโครงสร้าง ที่ต้องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะห่างระหว่างช่วงเสา การใช้งานที่ยืดหยุ่นจากจำนวนเสาภายในอาคารที่ลดน้อยลง และความสวยงามของตัวอาคารที่ดูโปร่งโล่งทันสมัยส่วนโครงสร้างรอง (secondary structure) ประกอบไปด้วยแป (purlin) และโครงเคร่ารับผนัง (girt) ส่วนของแปจะวางพาดในแนวตั้งฉากกับคานรับหลังคา (rafter) ด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กันเพื่อใช้ในการรองรับระบบหลังคา ส่วนโครงเคร่ารับผนังจะวิ่งพาดตั้งฉากกับเสา (column) จากช่วงห่างของโครงสร้างหลักหนึ่งไปอีกโครงสร้างหลักหนึ่ง เพื่อรองรับแผ่นผนัง…