การเชื่อม (Welding) การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก สำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก การเชื่อมเหล็กเป็นวิธีการต่อโครงสร้างเหล็กที่บ้านเรานิยมมากที่สุด เหตุผลง่ายๆ เพราะบ้านเรายังเน้นการตัดต่อประกอบที่หน้างาน งานตัดและเชื่อมอาคารโครงสร้างเหล็กจะเหมือนกับงานตัดและต่ออาคารโครงสร้างไม้ประเภทของงานเชื่อมสำหรับ การออกแบบจุดต่อโครงสร้างเหล็ก ถ้าแบ่งประเภทงานเชื่อม ตามรอยเชื่อม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1. เชื่อมพอก หรือ fillet weld เป็นลักษณะที่เชื่อมขอบผิวชิ้นงานหนึ่งๆ เข้ากับผิวของ base material ที่ต้องการจะต่อเข้าไป ข้อดีคือสามารถเชื่อมได้ง่ายโดยไม่ต้องเตรียมขอบชิ้นงาน สะดวก ไม่ต้องควบคุมคุณภาพมาก เพราะแนวโน้มการเกิดความไม่สมบูรณ์ของรอยเชื่อมค่อนข้างน้อย 2. เชื่อมบากร่อง หรือ groove weld ส่วนใหญ่แล้ว (แต่ไม่ทั้งหมดนะครับ) เป็นลักษณะการ “เชื่อมขอบชิ้นงานเข้ากับขอบ base material” เอาขอบกับขอบมาต่อเข้าด้วยกัน ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ จะเป็น groove weld แน่นอน 100% ข้อดีของ groove weld คือ ให้กำลังที่สูง โดยหากเป็นการเชื่อมที่ซึมลึกเต็มความหนา ที่เรียกว่า…
โรงงานสำเร็จรูป คืออะไร มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง โรงงานสำเร็จรูป คือ โรงงานหรือโกดังรูปแบบหนึ่งที่ใช้กระบวนการก่อสร้างโดยการเตรียมวัสดุก่อสร้าง โครงสร้าง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามการออกแบบของโครงสร้างโรงงานไว้ล่วงหน้า แล้วจึงนำไปประกอบและติดตั้งที่หน้างานหรือสถานที่ตั้งของโรงงานตามทีกำหนด ซึ่งมีให้เลือกด้วยกันหลาหลายประเภท หลากหลายขนาดตามความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันโกดังสำเร็จรูปได้รับการพัฒนาให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ประกอบการโรงงานต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของการก่อสร้างที่จะเข้ามาแทนการดำเนินการก่อสร้างโรงงานด้วยเจ้าของเอง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้จากธุรกิจให้บริการก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากใครกำลังหาข้อมูล และสนใจในการก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูป วันนี้ทางทีมงาน SSI จะมาแชร์ข้อมูลให้ทุกท่านได้ทราบกันว่า การก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง 4 สิ่งที่เหนือกว่าของ โรงงานสำเร็จรูป ความเร็วในการก่อสร้างเป็นเลิศ การก่อสร้างและติดตั้งโรงงานสำเร็จรูปมีความรวดเร็วกว่าการก่อสร้างโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ให้บริการก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปมีความเชี่ยวชาญคล้าย ๆ กับการต่อเลโก้หรือจิ๊กซอ เพราะชิ้นส่วนต่าง ๆ มักผลิตเสร็จตั้งแต่โรงงานแล้ว เหลือเพียงแต่การนำมาติดตั้งที่หน้างาน ซึ่งหากใครที่มีข้อจำกัดด้านเวลา การใช้โรงงานสำเร็จรูปเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ประหยัดต้นทุนการก่อสร้างได้มากกว่า พวกเราทราบกันดีว่าการก่อสร้างนั้นมีต้นทุนจากหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงของคนงาน ซึ่งจากการที่โรงงานสำเร็จรูปสามารถก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วย่อมลดความเสี่ยงของราคาวัสดุก่อสร้างที่อาจมีการปรับขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยลดปริมาณของวัสดุเหลืทิ้ง นอกจากนี้ยังประหยัดต้นทุนในส่วนของค่าแรงคนหน้างานได้มากอีกด้วย . คุณภาพของวัสดุและการให้บริการ ลูกค้าสามารถใช้งานโรงงานสำเร็จรูปได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากผู้ให้บริการก่อสร้างมีความเชี่ยวชาญ เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตามวิศวกรรม…
SSI Steel Design แอพพลิเคชั่นออกแบบโครงสร้างเหล็ก ง่ายนิดเดียว! SSI Steel Design คืออะไร?SSI Steel Design เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับใช้ในการคำนวณกำลังรับน้ำหนักสำหรับโครงสร้างเหล็ก ซึ่งจะช่วยให้การคำนวณนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและสามารถใช้งานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกลับไปเปิดคอมพิวเตอร์ที่สำนักงานหรือบ้านอีกต่อไป โดย SSI Steel Design ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน (Hot-Rolled Coil) ครบวงจร SSI Steel Design ทำอะไรได้บ้าง?สำหรับการคำนวณหลักๆ สามารถทำได้ 3 รูปแบบคือ– สามารถคำนวณกำลังรับโมเมนต์ดัดของคานโครงสร้างเหล็กหน้าตัดประกอบรูปตัว เอช (flexural strength of built-up H-section) สมมาตร 1 แกน และ 2 แกน.– สามารถคำนวณกำลังรับแรงอัดของเสาโครงสร้างเหล็ก (compressive strength of steel column) หน้าตัดต่างๆ เช่น หน้าตัดประกอบรูปตัวเอช…
Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? ประวัติความเป็นมาของ PEB Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? สำหรับความเป็นมาของ Pre-engineered building เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1960 ซึ่งอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า pre-engineered เพราะว่ามันถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาดมิติ รูปร่าง และรูปทรงของตัวอาคารไว้ก่อนล่วงหน้า โดยรูปแบบของโครงสร้างหลัก (Primary structure) จะเป็นโครงข้อแข็ง (Steel portal frame or Rigid frame) ซึ่งมีเสถียรภาพในการต้านทานทั้งแรงในแนวดิ่งจากน้ำหนักตัวของโครงสร้างเอง และแรงให้แนวราบ จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของโครงสร้าง ที่ต้องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะห่างระหว่างช่วงเสา การใช้งานที่ยืดหยุ่นจากจำนวนเสาภายในอาคารที่ลดน้อยลง และความสวยงามของตัวอาคารที่ดูโปร่งโล่งทันสมัยส่วนโครงสร้างรอง (secondary structure) ประกอบไปด้วยแป (purlin) และโครงเคร่ารับผนัง (girt) ส่วนของแปจะวางพาดในแนวตั้งฉากกับคานรับหลังคา (rafter) ด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กันเพื่อใช้ในการรองรับระบบหลังคา ส่วนโครงเคร่ารับผนังจะวิ่งพาดตั้งฉากกับเสา (column) จากช่วงห่างของโครงสร้างหลักหนึ่งไปอีกโครงสร้างหลักหนึ่ง เพื่อรองรับแผ่นผนัง…