PostConnex ™

PostConnex ™

PostConnexTM นวัตกรรมจุดต่อสำหรับพื้นคอนกรีตอัดแรงกับเสาเหล็ก PostConnexTM  คืออะไร? PostConnex เป็นระบบข้อต่อ / จุดต่อ (connection) ระหว่างเสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง (Hollow Steel Section, HSS) และ พื้นคอนกรีตอัดแรง (post-tensioned slab) หรือจะเรียกง่ายๆก็น่าจะใช้คำว่า “นวัตกรรมจุดต่อสำหรับพื้นคอนกรีตอัดแรงกับเสาเหล็ก”ซึ่งบริเวณหัวเสา (จุดต่อตัวผู้)ได้มีการออกแบบจุดต่อเพื่อรองรับพื้นคอนกรีตอัดแรง พร้อมทั้งยังเป็นตัวนำร่องสำหรับการต่อเสาโครงสร้างสำหรับชั้นต่อไปด้วย โดยจะทำให้สามารถก่อนสร้างได้รวดเร็วส่วนบริเวณโคนเสา (จุดต่อตัวเมีย) ก็จะมีการทำจุดต่อไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งจุดต่อชุดนี้เราจะเรียกว่า อุปกรณ์ยึดโคนเสา ที่จะมีหน้าที่ในการประคองเสาในระหว่างขั้นตอนของการประกอบติดตั้ง และยังสามารถใช้ในการปรับระดับ และความตรงดิ่งของเสาได้อีกด้วย องค์ประกอบของ PostConnexTM องค์ประกอบหลักของ PostConnex จะมีด้วยกันอยู่ 5 อย่างด้วยกัน ดังนี้ 1. เสาเหล็กโครงสร้างรูปพรรณกลวง หรือ เสาเหล็ก HSS (Hollow Steel Section, HSS) – ด้านในมีการติดตั้งแผ่นไดอะแฟรม (diaphragm) 2. จุดต่อตัวผู้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย – แผ่นเหล็กปิดหัวเสา –…

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร?

Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? ประวัติความเป็นมาของ PEB Pre-Engineered Building หรือ PEB คืออะไร? สำหรับความเป็นมาของ Pre-engineered building เริ่มต้นเมื่อทศวรรษที่ 1960 ซึ่งอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า pre-engineered เพราะว่ามันถูกออกแบบตามมาตรฐานเชิงวิศวกรรมที่ผู้ผลิตมีการกำหนดขนาดมิติ รูปร่าง และรูปทรงของตัวอาคารไว้ก่อนล่วงหน้า โดยรูปแบบของโครงสร้างหลัก (Primary structure) จะเป็นโครงข้อแข็ง (Steel portal frame or Rigid frame) ซึ่งมีเสถียรภาพในการต้านทานทั้งแรงในแนวดิ่งจากน้ำหนักตัวของโครงสร้างเอง และแรงให้แนวราบ จากแรงลมและแรงแผ่นดินไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของโครงสร้าง ที่ต้องการลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะห่างระหว่างช่วงเสา การใช้งานที่ยืดหยุ่นจากจำนวนเสาภายในอาคารที่ลดน้อยลง และความสวยงามของตัวอาคารที่ดูโปร่งโล่งทันสมัยส่วนโครงสร้างรอง (secondary structure) ประกอบไปด้วยแป (purlin) และโครงเคร่ารับผนัง (girt) ส่วนของแปจะวางพาดในแนวตั้งฉากกับคานรับหลังคา (rafter) ด้วยระยะห่างที่เท่าๆ กันเพื่อใช้ในการรองรับระบบหลังคา ส่วนโครงเคร่ารับผนังจะวิ่งพาดตั้งฉากกับเสา (column) จากช่วงห่างของโครงสร้างหลักหนึ่งไปอีกโครงสร้างหลักหนึ่ง เพื่อรองรับแผ่นผนัง…